วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ขนมไทย 4 ภาค



ขนมไทยภาคใต้

ขนมไทยภาคใต้ ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้นตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่

-ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
-ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
-ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
-ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
-ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
-ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
-ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
-ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
-ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วยขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน








ขนมไทยภาคเหนือ

          ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์ ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้มในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมิน ทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด






ขนมไทยภาคอีสาน
        เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)







ขนมไทยภาคกลาง
     ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น











ที่มา http://kanomthaisipak.blogspot.com/2012/08/4.html

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ขนมไทยห่อใบตอง



ที่มาของขนมไทยห่อใบตอง

สมัยสุโขทัย

    ขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศคือ จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหาร การกินร่วมไปด้วย

สมัยอยุธยา

 
  เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"

    ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ


   ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ งานสิริมงคลต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกัน ยืดยาวมีอายุยืน ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น

  ตัวอย่างขนมไทยห่อตองพร้อมวิธีการทำ


ขนมสอดไส้ 

วัตถุดิบ

-น้ำตาลปี๊ป 200 กรัม

-เกลือป่น 1/2 ช้อนชา สำหรับไส้ , เกลือป่น 1 ช้อนชา สำหรับกะทิ

-มะพร้าวทึนทึกขูด

-แป้งข้าวเหนียว 350 กรัม

-น้ำใบเตยปั่นละเอียด 300 มิลลิลิตร

-กะทิ 800 มิลลิลิตร

-แป้งข้าวเจ้า 80 กรัม

-กลิ่นมะลิ 1 ช้อนชา

-ไม้สำหรับกลัด หรือไม้จิ้มฟัน

-ใบตองเช็ดสะอาดสำหรับห่อขนม


วิธีทำ

-นำใบตองที่สำหรับห่อมาตัดเป็น 2 ขนาด ฉีกใบตองชั้นนอก 5 นิ้ว และสำหรับชั้นใน 4 นิ้ว และนำมาตัดมุมให้เป็นทรงวงรี เช็ดให้สะอาด และนำไปลนไฟเล็กน้อยเพื่อให้ห่อขนมได้ง่าย

-นำมะพร้าวทึนทึกที่ขูดเป็นเส้นยาว เกลือป่น และน้ำตาลปี๊บ ลงไปกวนในกระทะทองเหลือง ใช้ไฟอ่อน กวนไปเรื่อยๆ จนครบ 20 นาที จนส่วนผสมแห้ง จากนั้นก็ปิดไฟพักไว้ให้เย็น

ผสมแป้งข้าวเหนียวและน้ำใบเตยเข้าด้วยกัน นวดแป้งจนเริ่มเป็นก้อน เสร็จแล้วให้คลุมด้วยพาสติกแรป

-นำกะทิ 1/4 ของกะทิทั้งหมดผสมกับแป้งข้าวเจ้า เกลือป่น กลิ่นมะลิ ลงไปในกระทะ คนให้เข้ากันจนแป้งไม้จับตัวกันเป็นเม็ด แล้วค่อยเติมกะทิส่วนที่เหลือลงไป เปิดไฟอ่อนๆ และคนไปเรื่อยๆ จนกะทิเหนียวข้น ปิดไฟพักไว้ให้เย็น

-เมื่อตัวไส้เริ่มเย็นดีแล้ว ปั้นไส้ให้เป็นก้อนกลมๆ ขนาด 1 นิ้ว จนหมด และปั้นตัวแป้งเป็นก้อนกลมขนาดใหญ่กว่าตัวไส้เป็น 1 นิ้วครึ่ง แผ่แป้งให้แบนวางไส้ลงตรงกลาง และห่อไส้ขนมให้มิด

-เตรียมใบตองสำหรับห่อ นำใบตอง 2 ขนาดที่ตัดไว้เป็นวงรีมาประกบกัน นำหน้านวลทั้ง 2 แผ่น ชนกัน

-นำขนมที่ปั้นไว้วางลงบนใบตอง และราดด้วยน้ำกะทิ 1 ช้อนโต๊ะ และพับใบตองให้เป็นทรงสูง คาดทับด้วยใบมะพร้าวและคาดด้วยไม้กลัด

-นึ่งในน้ำเดือดจัดประมาณ 30 นาที พักไว้ให้เย็นก่อนเสิร์ฟ





ขนมกล้วย


วัตถุดิบ
* กล้วยน้ำว้า 8 - 10 ลูก (ปอกเปลือกและบดให้เละ)
* แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง

* แป้งมัน 1/4 ถ้วยตวง

* น้ำตาล 1 1/4 ถ้วยตวง
* เกลือป่น 1/2 ช้่อนชา

* หัวกะทิ 1/2 ถ้วยตวง

* เนื้อมะพร้าวขูด 2 ถ้วยตวง

วิธีทำ

1. นำกล้วย, แป้งข้าวเจ้า, แป้งมัน, น้ำตาล, เกลือ, หัวกะทิ และ เนื้อมะพร้าวขูด (ประมาณ 3/4 ส่วนของทั้งหมด) ผสมกัน จากนั้นนวดด้วยมือจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว

2. ตักส่วนผสมในข้อหนึ่งลงในถ้วยหรือแบบที่ต้องการ หรือจะใช้ใบตองห่อก็ได้ แล้วแต่ความสะดวก เสร็จแล้วนำเนื้อมะพร้าวขูดที่เหลือโรยหน้า

3. นำไปนึ่งประมาณ 30 นาที หรืออาจนำไปอบโดยใช้ความร้อนประมาณ 180 องศาเซลเซียส (360 องศาฟาเรนไฮต์) เป็นเวลา 30 นาทีเช่นกัน

4. เมื่อขนมกล้วยสุกแล้ว ให้นำออกจากแบบ สามารถเสริฟได้ทั้งขณะร้อนหรือเย็นแล้ว





ข้าวเหนียวสังขยา


วัตถุดิบ

1. กะทิ 200 มล.

2. ไข่เป็ด 4 ฟอง

3. ใบเตย 4 ใบ

4. น้ำตาลปี๊บ 80 กรัม

5. เกลือ ½ ช้อนชา



วิธีทำ

1. ตีไข่เป็ดในชามผสม ตามด้วยเกลือ , น้ำตาลปี๊บ , กะทิ , ใบเตย

2. ขยำส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันจนน้ำตาลปี๊บละลาย

3. นำส่วนผสมที่ขยำแล้วกรองด้วยกระชอนตาถี่ เทใส่ถ้วยพร้อมสำหรับการนึ่ง

4. เตรียมซึ้งนึ่งและใส่น้ำต้มให้เดือด นำสังขยาลงนึ่ง 30 นาที

5. จัดเสิร์ฟโดยตักวางบนข้าวเหนียวมูน และราดหน้าด้วยน้ำกะทิ เป็นอันเสร็จ









ข้าวต้มมัด


วัตถุดิบ

* ข้าวเหนียวเขี้ยวงูใหม่ 800 กรัม

* กล้วยน้ำว้าสุก 8-10 ผล

* ถั่วดำ 100 กรัม (แช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืน)

* มะพร้าวขูด 300 กรัม

* น้ำตาลทราย 100 กรัม

* เกลือป่น 1 ช้อนชา

* น้ำดอกไม้สด 3 ถ้วย

* ใบตองสำหรับห่อ


วิธีทำ
1. ล้างข้าวเหนียวให้สะอาด ใส่ตะแกรงพักไว้

2. นำถั่วดำที่แช่น้ำไว้ ไปนึ่งพอสุก พักไว้

3. นำมะพร้าวขูดไปผสมกับน้ำดอกไม้ คั้นกะทิสดให้ได้ 3 ถ้วย

4. ตั้งกะทิในกระทะบนไฟร้อนปานกลาง รอจนเดือดจึงใส่เกลือ น้ำตาลทราย และข้าวเหนียวที่ล้างแล้วใส่ตะแกรงพักไว้ ลดไฟลง ผัดจนส่วนผสมเข้ากัน โดยผัดนานประมาณ 15 นาทีจนเริ่มแห้ง จากนันจึงปิดไฟ พักไว้ให้เย็น

5. ปอกกล้วยและฝานเป็นชิ้น 3 ส่วน เตรียมใบตองให้ได้ หน้ากว้างประมาณ 3 นิ้ว ทำความสะอาดทั้งสองด้าน จากนั้น จึงใส่ข้าวเหนียวที่ผัดไว้ (ขั้นตอนที่ 4) ใส่กล้วยตรงกลาง และใส่ข้าวเหนียวปิดหน้า จากนั้นโรยด้วยถั่วดำนึ่งสุก ห่อให้แน่นและมัดด้วยตอก

6. นำข้าวต้มมัดเรียงใส่ลังนึ่ง นึ่งด้วยไฟแรงประมาณ 20 นาที จนสุก ปิดไฟยกลง

7. จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างในวันสบายๆ







ที่มา  http://www.m-culture.go.th/nonthaburi/index.php/2013-06-07-07-41-19/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/item/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-2


ขนมไทยชาววัง


ขนมหม้อตาล



ขนมนี้ก้เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่จะใช้กันในงานแต่งคะมักจะเรียกว่า หม้อเงิน หม้อทองคะ ขนมชนิดนี้มีรสหวานกำลังดีที่พอได้ชิมจะได้รสของแป้งกันน้ำตาลที่ลงตัว


ขนมพระพาย



เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในงานแต่งงานคะ ขนมนี้ทำมาแป้งนวดกับน้ำมะลิและสอดไส้ซึ่งไส้ของขนมชนิดนี้มีรสหวานอรอยมาก

ขนมตะลุ่ม



ขนมนี้จะมียุ2ส่วนคะ ส่วนตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้าย่ายม่อม แป้งมันสำปะหลัง น้ำปูนใสและหางกะทิ และนำไปนึ่ง ส่วนตัวหน้าทำจาก กะทิและน้ำตาล ใส่แป้งข้าวเจ้าเล็กน้อย แล้วเทบนตัวขนมนำไปนึ่ง ตอนรับประทานควรทานพร้อมกันเพราะมันจะให้รสชาติที่ลงตัวมากขนมบุหลันดั๋นเมฆ



ขนมชนิดนี้จะเป็นขนมที่ชาววังคิดขึ้นมา ให้มีสีสันเปลียบแบบบทเพลงของไทย บุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 เมื่อรับประทานจะให้รสหมอหวานของดอกอัญชัน กับ กลิ่นน้ำตาลมะพร้าวขนมเกสรชมพู


ขนมชนิดนี้มองครั้งแรกอาจจะคิดว่านี้คือ ข้าวเหนียวแก้ว แต่ถ้ามองดีดีจะเห็นข้อแตกต่างกันตรงที่ความแข็งกะด้างของข้าวเหนียวคะ ส่วนเรื่องรสชาติขนมชนิดนี้จะมีความมันและหอทไปในตัวของมะพร้าวและยังมีความหวานที่ไม่เหมือนใคร
ขนมจี้้



เป็นขนมไทยชาววังที่หากินไม่ได้แล้วในยุคนี้ ส่วนผสมทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมกับแป้งข้าวเจ้า แล้วนวดกับกะทิ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ แบนๆ มีไส้ที่ทำด้วยน้ำตาลทรายเคี่ยวผสมกับงาคั่ว จากนั้นคลุกกับนวลแป้งข้าวเจ้าที่คั่วสุกแล้ว รสหวานและมีกลิ่นหอม ว่ากันว่าเวลาหยิบใส่ปากแล้วต้องรีบหุบปาก มิเช่นนั้นนวลแป้งที่คลุกขนมจะฟุ้งขนมทองเอก



ขนมไทยที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี น้ำตาล ไข่แดง และกะทิ กวนจนข้น แล้วนำใส่แม่พิมพ์ให้ได้รูปตามที่ต้องการ จากนั้นจึงแคะออกจากแม่พิมพ์ แล้วนำมาอบด้วยเทียนอบ

ขนมทองเอกในสมัยโบราณนั้นได้มีการนำทองคำเปลวมาตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มาประดับไว้ด้านบนของขนมทองเอก โดยใช้วิธีการวางแผ่นทองคำเปลววางไว้บนแม่พิมพ์ก่อนเทขนมทองเอกลงในแม่พิมพ์ แต่ปัจจุบันไม่มีการนำทองคำเปลวมาตกแต่งขนมทองเอก เนื่องจากทองคำเปลวเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้รับประทาน


ขนมอาลัว



นำมะพร้าวขูดไปผสมกับน้ำลอยดอกมะลิ จากนั้นนำไปคั้นจนได้น้ำกระทิ นำแป้งสาลี, แป้งถั่วเขียว และแป้งมันร่อนผสมกัน นำน้ำกะทิผสมกับแป้งและน้ำตาล คนจนละลายเข้ากันดี จึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง เสร็จแล้วนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง ใส่สีผสมอาหารลงไป และกวนเรื่อยจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี (แป้งจะมีลักษณะเหนียวใสๆ ถ้านำไปหยอดในน้ำ แล้วแป้งยังคงรูปอยู่ก็เป็นอันใช้ได้) นำน้ำแป้งที่ได้ตักใส่ถุงบีบ แล้วจึงบีบลงในถาดที่ทาเนยขาวบาง ๆ แล้วจึงนำไปตากแดดสัก 2 - 3 แดด เสร็จแล้วนำไปอบควันเทียน จัดใส่จานเสริฟได้ทันที หรือใส่กระปุกมิดชิดเก็บไว้รับประทานภายหลังได้




ที่มา  http://kwangpat.blogspot.com/

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ขนมไทยที่นิยมใช้ในงานพิธี 9 อย่าง



ทองหยิบ

มีลักษณะงดงามคล้ายดอกไม้สีทองต้องใช้ความสามารถและความพิถีพิถันเป็นอย่างมากในการจับกลีบให้มีความงดงามเหมือน กลีบดอกไม้เชื่อว่าหากนำขนมทองหยิบไปใช้ประกอบพิธีมงคลต่างๆ หรือให้เป็นของขวัญแก่ใครแล้วจะทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวยหยิบจับการงานสิ่งใดก็จะร่ำรวยมีเงินมีทองสมดังชื่อ "ทองหยิบ"



ทองหยอด
   ใช้ประกอบในพิธีมงคลทั้งหลายหรือมอบเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญ ๆ แก่ผู้ใหญ่ที่เคารพรักหรือญาติสนิทมิตรสหายแทนคำอวยพรให้ร่ำรวยมีเงินมีทองใช้จ่ายอย่างไม่รู้หมดสิ้น ทองหยอดเป็นขนมที่ท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ได้นำความรู้ที่มีมาแต่เดิมผสมผสานกับความรู้ท้องถิ่นปรุงแต่งอาหารขึ้นใหม่จนเป็นที่รู้จักคือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทองนับเป็นขนมชั้นดีใช้ในงานมงคลต่าง ๆ





ฝอยทอง

มีลักษณะเป็นเส้นนิยมใช้กันในงานมงคลสมรสถือเคล็ดกันว่าห้ามตัดขนมให้สั้นต้องปล่อยให้เป็นเส้นยาวๆเพื่อที่คู่บ่าวสาวจะได้ครองชีวิตคู่และรักกันได้อย่างยืนยาวตลอดไป





ขนมชั้น

เป็นขนมไทยที่ถือเป็นขนมมงคลและจะต้องหยอดขนมชั้นให้ได้ 9 ชั้นเพราะคนไทยมีความเชื่อว่าเลข 9 เป็นเลขสิริมงคล หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าและ ขนมชั้นก็หมายถึงการได้เลื่อนชั้น เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป




ขนมทองเอก

เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นอย่างยิ่งในทุกขั้นตอนการทำมีลักษณะที่สง่างามโดดเด่นกว่าขนมตระกูลทองชนิดอื่นๆ ตรงที่มีทองคำเปลวติดไว้ที่ด้านบนของขนมคำว่า "เอก" หมายความถึง การเป็นที่หนึ่งการใช้ขนมทองเอกประกอบพิธีมงคลสำคัญต่างๆ หรือใช้มอบเป็นของขวัญในงานฉลอง การเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งจึงเปรียบเสมือนคำอวยพรให้เป็นที่หนึ่งด้วย




ขนมเม็ดขนุน

มีสีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุนข้างในมีไส้ทำด้วยถั่วเขียวบด มีความเชื่อกันว่าชื่อของขนมเม็ดขนุนจะเป็นสิริมงคลช่วยให้มีคนสนับสนุนหนุนเนื่องในการดำเนินชีวิตและในหน้าที่การงานหรือกิจการต่างๆที่ได้กระทำอยู่




ขนมจ่ามงกุฎ

เป็นขนมที่ทำยากมีขั้นตอนในการทำสลับซับซ้อนนิยมทำกันเพื่อใช้ประกอบพิธีการที่สำคัญจริงๆ คำว่า "จ่ามงกุฎ" หมายถึง การเป็นหัวหน้าสูงสุดแสดงถึงความมีเกียรติยศสูงส่งนิยมใช้เป็นของขวัญในงานเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งถือเป็นการแสดงความยินดีและอวยพรให้มีความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป




ขนมถ้วยฟู

ให้ความหมายอันเป็นสิริมงคลหมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟูนิยมใช้ประกอบในพิธีมงคลต่าง ๆ ทุกงานเคล็ดลับของการทำขนมถ้วยฟูให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทานคือใช้น้ำดอกไม้สดเป็นส่วนผสมและอบร่ำด้วยดอกมะลิสดในขั้นตอนสุดท้ายของการทำ




ขนมเสน่ห์จันทน์
"จันทน์" เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งมีผลสุกสีเหลืองเปล่งปลั่งทั้งสวยงามและมีกลิ่นหอม ชวนให้หลงใหลคนโบราณจึงนำ ความมีเสน่ห์ของผลจันทน์มาประยุกต์ทำเป็นขนมและได้นำ "ผลจันทน์ป่น" มาเป็นส่วนผสมทำให้มีกลิ่นหอมเหมือนผลจันทน์ให้ชื่อว่า "ขนมเสน่ห์จันทน์" โดยเชื่อว่าจะทำให้มีเสน่ห์คนรักคนหลง ขนมเสน่ห์จันทน์จึงถูกนำมาใช้ประกอบในงาน พิธีมงคลสมรสนอกจากขนมมงคล 9 อย่างนี้แล้วยังมีขนมอันชื่อเป็นมงคลและมีความหมายไปในทางที่ดีเช่นกัน อาทิ ขนมกงหรือขนมกงเกวียน ขนมสามเกลอขนมโพรงแสม เป็นต้น












ที่มา  http://www.stou.ac.th/study/sumrit/9-57(500)/page5-9-57(500).html